โครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองและบทบาทอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สู่เยาวชนในสถาบันการศึกษา(สภาจำลองสัญจร) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
————————
๑. หลักการและเหตุผล
การสร้างเยาวชนที่ดีและมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบทบาทอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและการเมืองการปกครองไทย นั้น เป็นภารกิจสำคัญของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เนื่องจาก เยาวชนเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาการเมืองการปกครองไทยในอนาคต ดังนั้น การปลูกฝังค่านิยม
และทัศนคติที่ดีให้แก่เยาวชน และให้ข้อมูล ความรู้ที่ถูกต้องจะช่วยสร้างและสนับสนุนให้เยาวชนไทย
ในวันนี้เป็นพลเมืองที่ดีของไทยในอนาคต
ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้และค่านิยมที่ดีให้แก่เยาวชน สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จึงเห็นควรจัดให้มีโครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทยและบทบาทอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สู่เยาวชนในสถาบันการศึกษาขึ้น โดยเน้นการเผยแพร่ความรู้และกิจกรรมเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง บทบาทอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รวมทั้งให้เยาวชนได้มีโอกาสทดลองการทำหน้าที่บทบาทสมมุติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผ่านการเล่น “สภาจำลอง” อีกทั้ง ยังเป็น
การเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บทบาทอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางต่อไป
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวการเมืองการปกครอง และบทบาทอำนาจหน้าที่
ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติผ่านกิจกรรม “สภาจำลอง”
๒.๒ เพื่อเสริมสร้างทัศนคติและภาพลักษณ์ที่ดีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๒.๓ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนกับกิจกรรมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๓. กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนสายสามัญระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔ – ม.๖) สายอาชีพระดับ ปวช.
และ ปวส. รวมทั้งระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ ๑ ครั้งละไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ คน
๔. เนื้อหาวิชาในโครงการ
ภาคเนื้อหาสาระ ประกอบด้วย
๔.๑ การเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบันและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน
๔.๒ บทบาทอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๔.๓ กิจกรรมทดลองการทำหน้าที่บทบาทสมมุติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผ่านกิจกรรม “สภาจำลอง”
๔.๔ การสร้างเครือข่าย เพื่อร่วมกิจกรรมกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
๕. ระยะเวลา และสถานที่
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ประกอบด้วย
ช่วงที่ ๑ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ – เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ช่วงที่ ๒ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ – เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
๖. งบประมาณ
ใช้งบประมาณประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
๗. ผลสัมฤทธิ์ของงานที่คาดหวัง
๗.๑ ผลผลิต (OUT PUT)
ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ร้อยละ ๘๐ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมือง
การปกครองไทยและบทบาทอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๗.๒ ผลลัพธ์ (OUT COME)
ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจและเสริมสร้างทัศนคติและภาพลักษณ์ที่ดีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อีกทั้งเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มขึ้น
๗.๓ ตัวชี้วัดผลงาน
เชิงปริมาณและคุณภาพของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ร้อยละ ๘๐ ได้รับความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองและบทบาทอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
และเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มขึ้น
๘. การติดตามและประเมินผล
๘.๑ สร้างกิจกรรมให้ครบทุกโรงเรียนตามแผนการดำเนินการ
๘.๒ ดำเนินการประเมินผลโครงการทุกครั้งหลังเสร็จสิ้นโครงการฯ เพื่อวัดองค์ความรู้และการนำความรู้ไปขยายผล รวมทั้งเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มขึ้น
๙. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๙.๑ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองและอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติผ่านกิจกรรม “สภาจำลอง”
๙.๒ เสริมสร้างทัศนคติและภาพลักษณ์ที่ดีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
๙.๓ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มขึ้น
๑๐. ผู้รับผิดชอบโครงการ
กลุ่มงานเผยแพร่ประชาธิปไตยและกิจกรรมวุฒิสภาภูมิภาค สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
*******************************
สภาจำลอง เพื่อเรียนรู้การทำงานของสภา